ขนมไทยในงานเลี้ยงที่เราเห็นเป็นประจำใครรู้บ้างว่าประวัติความเป็นมาต้นกำเนิดมาจากไหน ใช้ในพิธีไหนบ้าง เหมาะกับเทศกาลอะไร

ขนมไทยในงานเลี้ยงที่เราเห็นเป็นประจำใครรู้บ้างว่าประวัติความเป็นมาต้นกำเนิดมาจากไหน ใช้ในพิธีไหนบ้าง เหมาะกับเทศกาลอะไร

ขนมไทยในงานเลี้ยงกับต้นกำเนิดและประวัติของขนมไทย

              ขนมไทยในงานเลี้ยง พูดถึงขนมไทยเราทุกคนคงคิดถึง ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมฝอยทอง เป็นต้น แต่ทุกคนรู้หรือป่าวว่าขนมไทยที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้มีต้นกำเนิดมาจากที่ไหนสมัยอะไรใครเป็นคนต้นคิดขึ้นมา ขนมไทยในงานเลี้ยงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดย  “ท้าวทองกีบม้า” เป็นคนคิดค้นขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาปกครองโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยนั้นประเทศไทยมีเจริญสัมพันธไมตรีที่ดีกับชาวตะวันออกและชาวตะวันตกจึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลายๆด้านรวมถึงด้านอาหารการกินด้วย ท้าวทองกีบม้า ในสมัยนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่อง ได้ทำอาหารคาวหวานและขนมไทยในงานเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตที่มาเยือนจากฝรั่งเศสในสมัยนั้นจนมีผู้ยกย่องให้ ท้าวทองกีบม้าเป็น ราชินีแห่งขนมไทย

ขนมไทยในงานเลี้ยงที่เราเห็นเป็นประจำใครรู้บ้างว่าประวัติความเป็นมาต้นกำเนิดมาจากไหน ใช้ในพิธีไหนบ้าง เหมาะกับเทศกาลอะไร

ขนมไทยในงานเลี้ยงกับพิธีต่าง ๆ

             ขนมไทย ได้เข้ามามีบทบาทกับงานพิธีบุญต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ส่วนใหญ่คนไทยจะทำขนมไทยในงานเลี้ยงและงานบุญเนื่องจากขั้นตอนการทำขนมไทยนั้นมีความประณีตเป็นพิเศษจึงนิยมทำเฉพาะมีงานบุญเท่านั้น เช่น

1.งานแต่งงานหรืองานมงคลสมรส จะใช้ขนมไทยหลายชนิดเลยทีเดียวในงานมงคลสมรส ได้แก่

– ฝอยทองหรือทองหยิบ
– ขนมชั้น
– ขนมถ้วยฟู
– ขนมทองเอก
– ขนมหม้อแกง
– ข้าวเหนียวแก้ว หรือวุ้นหน้าสีต่าง ๆ
– ขนมดอกลำดวน

2.ขนมไทยกับพิธีตั้งศาลพระภูมิ ขนมไทยที่จะใช้เป็นเครื่องสังเวยพระภูมิ ได้แก่
– ขนมต้มแดง
– ขนมต้มขาว
– ขนมเล็บมือนาง (ขนมคันหลาว)
– ขนมดอกจอกหรือขนมทองหยิบ
– ขนมถั่วแปบ (ขนมหูช้าง)
– ขนมข้าวเหนียวแดง
– ขนมประเภทบวดต่าง ๆ

ขนมไทยในงานเลี้ยงกับเทศกาลต่าง ๆ

              ขนมไทยที่เรารู้จักกันดีนั้นเรารู้หรือเปล่าว่าขนมไทยมีบทบาทกับเทศกาลไหนและเหมาะที่จะใช้ขนมไทยในงานเลี้ยงหรือในเทศกาลอะไรบ้าง

1.เทศกาลสงกรานต์  ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปีที่คนไทยถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ขนมไทยที่เรามักจะเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็คือ

– กาละแม

– ข้าวเหนียวแดง

2.วันเข้าพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นฤดูฝน ซึ่งพระสงฆ์จะต้องจำวัดเป็นเวลา 3 เดือนโดยไม่ออกไปไหนและขนมไทยที่ใช้ในวันเข้าพรรษา ก็คือ

– ข้าวต้มผัด

– ขนมประเภทบวดต่าง ๆ

3.วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ขนมไทยที่ใช้ ก็คือ กระยาสารท

4.เทศกาลบุญเดือนสิบ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เป็นเทศกาลของชาวภาคใต้ เป็นการทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ขนมไทยโบราณที่ใช้ในการทำบุญเดือนสิบ ก็คือ

– ขนมลา

– ขนมกง

– ขนมดีซัน

– ขนมพอง

– ขนมสะบ้า

ขนมไทยในงานเลี้ยงที่เราเห็นเป็นประจำใครรู้บ้างว่าประวัติความเป็นมาต้นกำเนิดมาจากไหน ใช้ในพิธีไหนบ้าง เหมาะกับเทศกาลอะไร

เราจะเห็นได้ว่าขนมไทยในงานเลี้ยงหลายๆ ชนิดที่นำมาใช้ในงานบุญต่าง ๆ เทศกาลสำคัญนั้นเราจะรู้จักกันดีเลยทีเดียวเพียงแต่บางทีเราอาจจะไม่รู้ว่าขนมไทยเหล่านี้นั้นสามารถนำมาใช้ในงานบุญ ในเทสกาลหรือพิธีต่าง ๆ ได้ก็เท่านั้นเอง สนใจสั่งซื้อ คลิ๊ก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น