ขนมไทย ความหอมหวานที่คงอยู่เหนือกาลเวลา

ขนมไทย เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดั้งเดิมจากตำรับขนมของท้าวทองกีบม้า (มารี เดอ กีร์มาร์) ผู้คิดค้นขนมหวานที่ทำจากแป้ง ไข่ และน้ำตาล ผสานกับส่วนผสมอื่นๆ และรูปแบบต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ รสชาติหวานอร่อย นับจากนั้นเป็นต้นมา ขนมเหล่านี้ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ มีการเรียนรู้และสืบทอดไปหลายชั่วอายุคน และมีการพัฒนาให้ขนมมีความสวยงาม แปลกใหม่ยิ่งขึ้นมาเรื่อยๆ

ด้วยว่าขนมไทย เหล่านี้มีการตั้งชื่อที่เป็นมงคล จากรูปลักษณ์ในการทำ ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน จ่ามงกุฎ ทองเอก เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู และขนมชนิดอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมและนำมาประกอบในการจัดเลี้ยง ใช้ในพิธีมงคล ตามประเพณีไทยในโอกาสต่างๆ เรื่อยมา ทั้ง งานทำบุญบ้าน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญเลี้ยงพระ งานแต่งงาน งานบวช งานเปิดกิจการ การแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ หรือนำมามอบให้กันเป็นของขวัญ สื่อถึงการนำสิ่งมงคล เอาสิ่งดีๆ โชคดี ความเป็นสิริมงคลไปอวยพรให้ นั่นเอง

ฉะนั้นขนมไทยจึงใกล้ชิดกับการใช้ชีวิตของคนไทย ในช่วงเวลา โอกาสต่างๆของชีวิต ผสานกับประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงภูมิปัญญาของคนแต่ละรุ่นในการรังสรรค์ ขนมไทยให้มีความหลากหลาย บ่งบอกถึงท้องที่ที่มาของขนม ทว่ากาลเวลาผ่านไป กระแสความนิยมขนมในสังคมนั้นก็เปลี่ยนไป เนื่องจากการแพร่หลายทางวัฒนธรรมต่างประเทศที่เข้ามา คนไทยจึงหันไปนิยมขนมของหวานจากต่างประเทศ ความสนใจและนิยมขนมไทยก็ลดลง จนถึงจุดที่ขนมไทยบางชนิดเกือบจะสูญหายไป เพราะว่าไม่มีคนรับช่วงทำขนมต่อ คนรุ่นหลังไม่ทำ แต่สุดท้ายด้วยความเชื่อที่ยึดติดกับจิตใจ อย่างไรเสียในงานมงคลต่างๆ ก็จะต้องมีขนมไทยเหล่านี้ประกอบอยู่เสมอ และการหวนกลับของกระแสความนิยมในวิถีไทย ทั้งจากละครดังย้อนยุคที่มีการกล่าวถึงขนมไทยตามประวัติศาสตร์ หรือนำมาประกอบ เป็นตัวช่วยให้คนไทยยังหวนนึกถึงและกลับมานิยมอีกครั้ง จึงอาจสิ่งที่ทำให้ขนมไทยนั้นคงอยู่เหนือกาลเวลานั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น